บทบาทของพระมหากษัตริย์ ของ ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564

ป้ายแบนเนอร์ “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ที่การขุมนุมในวันที่ 29 ตุลาคม

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสำนักพระราชวังไม่มีความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการประท้วงต่อสาธารณะตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ในเดือนสิงหาคม หนังสือพิมพ์ เอเชียไทมส์ รายงานอ้างข้าราชการคนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ทรงไม่รู้สึกถูกรบกวนจากการประท้วง และผู้ประท้วงควรสามารถแสดงความคิดเห็นได้[32] อย่างไรก็ดี อัลจาซีรารายงานว่า พระมหากษัตริย์ทรงให้สื่อไทยตรวจพิจารณาข้อเรียกร้อง 10 ข้อ[33]

วันที่ 24 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสชมสุวิทย์ ทองประเสริฐอดีตพระพุทธะอิสระและผู้ชูพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกลางกลุ่มผู้ชุมนุม[34] นับเป็นการแสดงความเห็นต่อสาธารณะครั้งแรกต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ทำให้แฮชแท็ก #23ตุลาตาสว่าง ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศไทย โดยมีการรีทวีตกว่า 500,000 ครั้ง ผู้ประท้วงคนหนึ่งออกความเห็นว่า พระมหากษัตริย์อยู่ ณ ใจกลางของปัญหาการเมืองไทยมาโดยตลอด[35] แพทริก จอรี อาจารย์มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ระบุว่า พระองค์ทรงมีอุปนิสัยทำนายไม่ได้ ทรง "เต็มพระทัยใช้ความรุนแรง" และอาจกดดันประยุทธ์ให้ปราบปรามผู้ประท้วง[36]

สถานการณ์ในปัจจุบันมวลชนเริ่มมีการล่าถอย จำนวนประชากรที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเริ่มบางตา เหตุเพราะจุดมุ่งหมายแรกของการชุมนุมคือการขับไล่รัฐบาล หากแต่ แกนนำได้มีการแปรเปลี่ยนจากเป้าหมายเดิมเป็นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ทำให้มวลชนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยต่างล่าถอย และทำให้มวลชนในปัจจุบันมีจำนวนที่ลดลง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 //www.worldcat.org/issn/1999-2521 //www.worldcat.org/oclc/1059452133 //www.worldcat.org/oclc/7179244833 https://thisrupt.co/current-affairs/global-conspir... https://thisrupt.co/current-affairs/whores-sluts-w... https://www.aljazeera.com/news/2020/08/thai-pm-pro... https://www.amarintv.com/news/detail/39223 https://www.asiasentinel.com/p/thailand-shuts-stro... https://asiatimes.com/2020/08/new-generation-of-da... https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/853219